ERP ย่อมาจาก Enterprise resource planning
เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร โดยวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร เชื่อมโยงระบบต่างๆ
ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต
ระบบการกระจายสินค้า โดยที่มีฐานข้อมูลเก็บข้อมูลร่วมกันและเก็บไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล
และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรข้อมูลให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ประโยชน์ที่ชัดเจนของ ERP คือ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบงาน
จากระบบการรับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า จนถึงการออกใบสั่งซื้อ ใบกำกับภาษี การเก็บเงิน รวมถึงขั้นตอนอื่นๆ
ที่ช่วยเติมเต็มวงจรการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า การสนับสนุนการทำงานด้วยกระบบ ERP จึงสามารถช่วยเหลือองค์กรได้เป็นอย่างดี
ระบบ ERP สามารถจัดการกระบวนการต่างๆ การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า มาทำกระบวนการต่อๆไปตามลำดับ
เมื่อตัวแทนขายได้ส่งคำสั่งซื้อจากลูกค้าเข้ามาในระบบ ERP
ตัวแทนคนนั้นจะสามารถตรวจสอบข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อปิดการสั่งซื้อให้แล้วเสร็จได้ ยกตัวอย่างเช่น
สามารถดูยอดลูกหนี้การค้าหรือเครดิตของลูกค้า
ยอดการสั่งซื้อที่ผ่านมา ประวัติการชำระเงิน
ตรวจสอบสถานะของสินค้าคงคลังจากโมดูลคลังสินค้า
สามารถดูตารางรถขนส่งได้จากโมดูลลอจิสติกได้
จากที่กล่าวมา เป็นเพียงวงจรเล็กๆเท่านั้น ยังมีวงจรการทำงานอื่นๆอีก เช่น การดูด้านสวัสดิการของพนักงาน การดูแลลูกค้าด้วยระบบ CRM เป็นต้น
ซึ่งอาจสรุปได้เป็นโมดูลหลักๆ ได้ 6 โมดูลหลัก
ระบบบัญชี อันประกอบไปด้วย ระบบบัญชีการเงิน และ ระบบบัญชีบริหาร
ระบบการผลิต ได้แก่ ระบบควบคุมการผลิต ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการจัดซื้อ เป็นต้น
ระบบบริหารงานขาย ได้แก่ ระบบบริหารงานขาย ระบบ CRM ระบบคำนวณค่าคอมมิชชั่น
ระบบลอจิสติกส์ (Logistics)
ระบบการบำรุงรักษา
ระบบบริหารงานบุคคล
ซึ่งการนำเอาระบบ ERP มาใช้ ไม่จำเป็นต้องมีโมดูลทั้งหมด สามารถนำมาประยุกต์ใช้
บางโมดูลก็ได้ ตามความเหมาะและ ประโยชน์ตามความจำเป็น
ที่มา :บริษัท เอไอ คอมพิวเตอร์ จำกัด
|